วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555

สิ่งที่ควรทำสำหรับ การทำ SEO 13 ข้อ


สิ่งที่ควรทำสำหรับ การทำ SEO 13 ข้อ

Posted by admin On February - 28 - 2009

สิ่งที่ควรทำสำหรับ SEO

  1. เลือกใช้ Web Hosting ที่มีคุณภาพสูง ไม่ล่มบ่อย เพราะ Robots จะไม่สามารถเข้ามาทำการเก็บข้อมูลใหม่ได้
  2. อัพเดทเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ Search Engine ก็ให้ความสนใจกับวันที่ Update ของไฟล์นั้นด้วย
  3. ถ้าหน้าเพจทำออกมาแล้วยาวเกินไป ให้ตัดเนื้อหาออกมา แล้วนำเสนอเป็นหัวข้อใหม่ในหน้าเพิ่มเติม
  4. พยายามทำให้ขนาดของไฟล์ HTML ให้เล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะส่งผลดีต่อทั้ง Robots และ Visitor
  5. Title ในทุก ๆ หน้า อย่าทำให้ซ้ำกัน
  6. ให้ความสนใจในการจัดเก็บไฟล์เอกสารอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการเปิด และอยู่ในเว็บไซต์ ทั้ง PDF และ Word โดยการใช้ robots.txt เข้าช่วยไม่เช่นนั้นไฟล์เอกสารพวกนี้อาจจะทำให้เว็บไซต์ของเราโดนแบนโดยรู้เท่าไม่ถึงการ
  7. ถ้าเป็นไปได้ พยายามอย่าใช้ Folder ในการเก็บเอกสาร HTML
  8. ควรมีลิงค์ที่เกี่ยวข้อง ในส่วนท้ายของทุกๆหน้าเพจที่มีการนำเสนอ Content
  9. การติดตั้ง Java Script แบบผิดวิธี และไม่ได้แก้ไข อาจส่งผลเสียต่อการทำงานของ Robots
  10. ควรมีความรู้ในเรื่อง Stylesheet เพราะสิ่งนี้ช่วยให้เราสามารถคุมหน้าเพจทั้งหมดไว้ได้
  11. การเน้นการทำอันดับที่ Google แห่งเดียวเท่านั้น Meta Tag Keyword – Description ลบออกไปได้เลยครับ
  12. การทำ Submission ที่ ODP และ Yahoo Directory รับประกันว่าคุ้มค่าต่ออันดับการแสดงผลแน่นอน ถึงแม้ว่าที่ Yahoo Directory อาจต้องมีการเสียเงินบ้าง แต่เหมาะสมกับการหวังผลในการทำอันดับสูงสุด
  13. การใช้ Signature ที่ลงในรายละเอียดของเว็บไซต์เรา ใน Forum ต่างๆ จะช่วยสร้าง Link Popularity ได้อีกทาง
Credits : Thaiseo

Backlink Checker เช็คแบ็คลิงค์กันหน่อยมั๊ย


Backlink Checker เช็คแบ็คลิงค์กันหน่อยมั๊ย

Posted by admin On July - 7 - 2011
คนทำ SEO ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Backlink เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ในการทำอันดับ ดังนั้นการที่เราตรวจสอบเว็บของเราเอง และเว็บของคู่แข่ง ว่า ทำไมอันดับของเราจึงไม่สามารถแซงคู่แข่งได้ เขาได้ Backlinks จากไหนบ้าง แล้วเราจะได้ links เหล่านั้นบ้างจะได้มั๊ย วันนี้ผมมีเครื่องมือนึง ที่จะช่วยให้เราวิเคราะห์ว่า เว็บคู่แข่งมีดียังไง เราจะสามารถเอาชนะเขาได้ยังไง ไปดูกันเลยครับ สำหรับวิธีการใช้งาน


Backlink Checker เพื่อเช็คแบ็คลิงค์
1.  อันดับแรก ให้เราไปที่เว็บ http://www.online-utility.org/webmaster/backlink_domain_analyzer.jsp
2. พิมพ์ url ของเว็บเรา ลงไป แล้วกด enter หรือ กดปุ่ม check
3. รอสักพัก แล้วเราจะได้รับรายงานการได้ Backlink ของเว็บที่เราใส่ลงไปว่า มี Backlinks มาจากเว็บไหนบ้าง
คำแนะนำ :
  • ให้สังเกต Different Domain ถ้าต้องการอันดับดีๆ จงจำไว้ว่า ยิ่งมาจากโดเมนที่ต่างกัน ยิ่งทำให้อันดับของเราดีขึ้น
  • หาลิงค์จากเว็บที่มี Trust Rank สูงๆ โดยเฉพาะเว็บ .ac.th, .go.th, .or.th (สำหรับเว็บภาษาไทย) หรือ .edu, .gov, .org สำหรับเว็บภาษาอังกฤษครับ
  • ที่เหลือก็คือการสร้าง Backlinks ให้ได้เท่ากับหรือมากกว่าคู่แข่ง อันดับของคุณต้องดีขึ้นแน่ๆ ครับ

เทคนิค SEO โดยใช้ Google Adwords


เทคนิคในการจัดทำ SEO โดยใช้ Google Adwords

               คำตอบของผมก็คือว่า เราสามารถนำ Google Adwords มาประยุกต์ใช้ในการทำ SEO ได้ และได้อย่างดีทีเดียวครับ ดังที่เพื่อนๆคงจะได้ทราบวิธีการทำงานของ Google Adwords กันไปเรียบร้อยแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า โฆษณาบน Google Adwords นั้น เป็นโฆษณาที่มีผลกับจิตใจของผู้เห็นโฆษณาภายในเสี้ยววินาทีเท่านั้น เท่ากับว่า ผลลัพธ์ SEO ที่ได้จากการโฆษณาบน Google Adwords นั้น เป็นผลลัพธ์ SEO ที่ดีเยี่ยมยิ่งกว่าโพลใด ๆ ครับ เช่น ถ้าเรา ทำโฆษณาขึ้นมา 2 ชิ้น แล้วทำการโฆษณาแข่งกันบน Google หลังจากผ่านไป 1 สัปดาห์
สามารถที่จะสรุปเบื้องต้นได้แล้วว่า SEO ข้อความโฆษณาทางด้านซ้ายมือนั้น มีผลในการเรียกความสนใจของผู้ที่อ่านได้มากกว่า (ใน Keywords นั้นๆ) รวมทั้งการใช้ Google Adwords นั้น เราสามารถทำการทดสอบและปรับเปลี่ยนข้อความโฆษณาได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เราสามารถหา Keywords และข้อความโฆษณาที่มีประสิทธิภาพสูงได้โดยเร็ว
ดังนั้นถ้าหากเราจะใช้ประโยชน์จาก Google Adwords เพื่อเทคนิคการทำ SEO ของเว็บไซต์นั้น ผมแนะนำให้ทำดังนี้
• ลองทำการโฆษณาเว็บไซต์ของตนเองด้วย Google Adwords ก่อน เพื่อหา Keywords ข้อความโฆษณา และ landing page ที่มีประสิทธิภาพในการโฆษณาเว็บไซต์ของเราก่อน
• เมื่อเรามี Keyword และข้อความโฆษณาที่สามารถทำกำไรให้กับเราได้แล้ว ก็ลองนำ Keyword, ข้อความโฆษณา และ landing page ชุดนั้นไปโฆษณาบน PPC อื่นๆ เช่น Overture.com, Findwhat.com แล้วดูว่ายังสามารถทำกำไรให้เราได้หรือไม่
• ถ้าหากเราสามารถทำกำไรได้จาก Keyword , ข้อความโฆษณา และ landing page ชุดนั้น เราก็ค่อยทำ SEO เว็บไซต์ของเรา โดยการใช้ Keyword , ข้อความโฆษณา และ landing page ชุดนั้น โดยเราควรจะเลือกทำ SEO กับ Keyword ที่ทำกำไรให้กับเรามากที่สุดก่อนเป็นอันดับแรก
ดังนั้นจะเห็นว่า Google Adwords นั้นจะช่วยให้ประโยชน์ในการทำ SEO โดยจะทำให้เราสามารถค้นหา Keywords, ข้อความโฆษณา และ landing page ที่มีความสัมพันธ์กัน ได้โดง่ายและรวดเร็วมากกว่าแต่ก่อนครับ / บทความวิธีหาเงินจาก google adsense
นอกจากนั้นการทำ SEO ด้วยวิธีนี้ ยังจะทำให้เราสามารถทำกำไรกลับมาได้สูง เพราะว่า เราเน้นการทำ SEO ในชุด Keyword, ข้อความโฆษณา และ landing page ที่สามารถทำกำไรกลับมาให้เราได้สูงอยู่แล้ว (เรารู้ตั้งแต่ก่อนทำ SEO แล้ว ด้วยการทดลองบน Google Adwords ถูกไหมครับ)
โดยสรุปแล้ว Google Adwords นั้นสามารถนำมาเป็นสื่อในการทดสอบการทำ SEO ได้นั่นเอง เพราะทำได้ง่ายดายกว่ามาก จนกระทั่งเมื่อไหร่ที่เรามี Keywords, ข้อความโฆษณา และ landing page ที่คิดว่าดีและทำกำไรได้แล้ว จึงค่อยนำสิ่งเหล่านั้นไปใช้ในการทำ SEO แบบทั่วไปครับ

Dofollow คืออะไร ต่างกับ Nofollow ยังไง?

Dofollow คืออะไร ต่างกับ Nofollow ยังไง?

Dofollow vs Nofollow

หลังๆ ไม่ค่อยมีเวลาว่างมาอัพเดทเว็บ SEO เลย เว็บเงียบๆ ไป วันก่อนไปเจอเกี่ยวกับ Dofollow กับ Nofollow ซึ่งเป็นที่กังขาของเหล่าเว็บมาสเตอร์ในยุคนี้กันมาก เลยค้นหาข้อมูลมาฝากครับ
วิธีการใช้งาน Dofollow และ Nofollow
  • ถ้าต้องการให้ Nofollow ทั้งเว็บ ให้ใส่โค้ด <META NAME=“ROBOTS” CONTENT=“NOFOLLOW”> ไว้ในส่วนบน ก่อนคำสั่ง นะครับ
  • ถ้าต้องการให้ Nofollow บางลิงค์ ก็ให้ใส่โค้ด rel=”nofollow>
  • ส่วนถ้าต้องการให้เป็น Dofollow ก็ไม่ต้องปรับแต่งใส่โค้ดอะไรเลย เพราะปกติมันก็เป็น Dofollow อยู่แล้ว
เอาล่ะมาอ่านความหมายของคำว่า Dofollow กับ Nofollow กันเลยว่า มันดีไม่ดียังไง ควรปรับหรือไม่ควร

———————————————————————–
nofollow-dofollow
วันนี้ผมไปอ่านเจอBlogนึ่งมีประโยชน์มากเลยครับ ทำให้รู้ความหมายของ DoFollow & NoFollow คืออะไร เอาไว้ทำอะไรลองอ่านกันดูนะครับ
คำนี้เคยได้ยินกันไหมครับ DoFollow กับ Nofollow ถ้าเป็น Webmaster สมัยนี้ หรือ ผู้ที่ำทำ Blog น่าจะพอเข้าใจและได้ยินมาบ้าง วันนี้ผมจะมาอธิบายให้ฟังครับว่า มันคืออะไร?
DoFollow และ NoFollow เป็น Attribute ในการทำลิงค์  (AnchorTag) ซึ่งทั้ง 2 แบบนั้น ให้ผลที่แตกต่างกันค่อยข้างมาก ผมจะยกตัวอย่าง html ที่ใช้ attribute Nofollow ครับ เพราะโดย Default ของ Anchor Tag จะเป็น DoFollow อยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าเราจะใส่ NoFollow ก็ตามนี้เลยครับ
rel=”nofollow>


Alt Tag กับรูปภาพ ควรใช้อย่างไรดี


Alt Tag กับรูปภาพ ควรใช้อย่างไรดี

{ Posted on พ.ค. 24 2010 by admin }
Tags : Alt Tag, Matcutts
Categories : SEO
Matt cutts วิศวกรของ Google ได้ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับ การใช้ “alt” tag กับ รูปภาพต่างๆ ว่า ควรใช้ยังไง หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่า ใส่แล้วมันช่วย SEO ได้ดีขึ้นจริงหรือ แล้วควรใส่เท่าไหร่ดี ลองมาฟังเขาพูดถึงเรื่องนี้กันดูนะครับ

Video : Matt cutts talking about “ALT” for images

matt-cutts
matt-cutts

Search Ranking Factor 2009


Search Ranking Factor 2009


45
สวัสดีครับ วันนี้ผม มีเรื่องราวเกี่ยวกับการทำ SEO ที่หลายๆ คนอยากรู้ มาเปิดเผยต่อ ซึ่งจริงๆ แล้ว ผมไม่ได้คิดขึ้นมาเองครับ แต่เกิดจากการระดมสมองของนักทำ SEO ระดับ Expert ทั่วโลก ได้ให้คะแนนสำหรับ ปัจจัยที่ทำให้อันดับในการค้นหาดีขึ้น ซึ่งสรุปได้ดังนี้ครับ

Search Ranking Factor 2009

  1. คีย์เวิร์ด ที่เป็นจุดเชื่อมโยงมาจากลิงค์ภายนอกเว็บไซต์ของเรา เช่น เราต้องการคีย์เวิร์ดคำว่า “SEO” ก็จะต้องมีคีย์เวิร์ดนี้ เป็นลิงค์มาจากเว็บอื่นๆ และที่สำคัญ คีย์เวิร์ดนี้จะต้องเป็นตัวหนา หรือ ด้วยนะครับ อันนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดในปี 2009 นี้ครับ
  2. ลิงค์มาจากภายนอกเว็บของเรา ต้องมีปริมาณมากๆ และมีคุณภาพด้วย  หรือเว็บที่มี PageRank สูง หรือเว็บที่เป็นแนวเดียวกับเว็บของเราครับ อันนี้ถูกจัดให้สำคัญเป็นอันดับที่สองครับ
  3. ลิงค์ที่มาจากหลายๆ แหล่ง ไม่ซ้ำโดเมน หรือ Class IP จะยิ่งแจ่มครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลิงค์ที่มาจากหน้าหลักของเว็บนั้นๆ โดยตรง อันนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญอันดับสามครับ
  4. คีย์เวิร์ดที่ปรากฎอยู่ใน Title Tag ครับ ยิ่งอยู่ตำแหน่งแรกได้ยิ่งดี ปัจจัยอันนี้ รู้ๆ กันอยู่ครับ แต่ปีนี้ให้ความสำคัญเป็นอันดับที่สี่นะ
  5. ลิงค์ที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือทั้งหลาย (TrustRank) อันนี้เป็นความสำคัญอันดับที่ห้าครับ

การทำ SEO เกี่ยวกับ Visual Extras and SEO


การทำ SEO เกี่ยวกับ Visual Extras and SEO

{ Posted on เม.ย. 03 2009 by admin }
Tags : จาวาสคริปต์, เฟรม, แฟลช
Categories : SEO, การทำ SEO

การทำ SEO เกี่ยวกับ Visual Extras and SEO
1
JavaScript
เว็บที่ใช้โค้ดจาวาสคริปต์เยอะๆ ทำให้บอทวิ่งเก็บข้อมูลลำบาก
0
2
Images instead of text links
ใช้ตัวหนังที่เป็นรูป แทนที่จะเป็นข้อความปกติ ถึงจะใช้ alt tag ก็ยังไม่ดี
-1
3
Frames
เฟรม มีปัญหากับบอทเสมอ ไม่ควรใช้ทำเว็บที่ต้องการให้ติดอันดับดีๆ
-2
4
Flash
สไปเดอร์บอท เก็บข้อมูลในไฟล์แฟลชได้ยาก
-2
5
A Flash home page
ไม่ควรทำหน้าแรกด้วย แฟลชทั้งหน้า
-3

javascript

Google Caffeine คืออะไร?


Google Caffeine คืออะไร?


Google Caffeine คืออะไร?

Google Caffeine คืออะไร?

กูเกิ้ล คาเฟอีน คืออะไร เป็นสิ่งที่ Webmaster นักทำ SEO ทั้งหลายให้ความสนใจมาหลายเดือนแล้ว บางคนก็อาจจะได้ทดสอบกันบ้างแล้ว กับ url นี้ www2.sandbox.google.com (แต่ตอนนี้ใช้ไม่ได้แล้วนะครับ) ซึ่ง Google Caffeine จริงๆ แล้วมันไม่ใช่เป็น Search Engine ใหม่ของกูเกิ้ลแต่อย่างใด มันเป็นโปรเจคลับๆ อีกโปรเจคหนึ่ง ที่กูเกิ้ลได้เปิดเผยเพื่อให้หลายๆ คนได้ทดสอบโปรเจคนี้ ในการต่อยอดของ Search Engine ของตัวเอง (คิดว่าน่าจะเตรียมรับมือกับ Bing) ซึ่งจากที่หลายๆ คนได้ทดสอบแล้ว ลองมาดูกันซิว่า เจ้า Google Caffeine ที่ว่านี่ มันทำอะไรได้บ้าง

การทำSEO เกี่ยวกับ Contents


การทำSEO เกี่ยวกับ Contents

{ Posted on เม.ย. 03 2009 by admin }
Tags : คอนเท้นท์, เนื้อหา
Categories : SEO, การทำ SEO


การทำ SEO เกี่ยวกับ Content
1
Unique content
เนื้อหาไม่ซ้ำ เนื้อหาที่เขียนเอง แตกต่างจากเว็บอื่นๆ โดยสิ้นเชิง ไม่มีที่ไหนในโลก
+3
2
Frequency of content change
อัพเดทบ่อย
+3
3
Keywords font size
ขนาดตัวอักษรของคีย์เวิร์ด เช่นใช้แท็ก

+2
4
Keywords formatting
การจัดรูปแบบตัวอักษร เช่น ตัวหนา เอียง ขีดเส้นใต้ ตำแหน่งที่เป็นคีย์เวิร์ด
+2
5
Age of document
อายุของเอกสารที่ล่าสุด หรือปรับปรุงบ่อยๆ
+2
6
File size
ขนาดของไฟล์ไม่ใหญ่เกินไป หน้าเอกสารไม่ยาวมาก
+1
7
Poor coding and design
การเขียนโค้ดและออกแบบที่แย่ต่อการค้นหาของเสิร์จเอนจิ้น
-2
8
Illegal Content
เนื้อหาผิดกฎหมาย ละเมิดลิขสิทธิ์
-3
9
Invisible text
ซ่อนข้อความ โดยเฉพาะคีย์เวิร์ดสำคัญๆ เอาไว้ คนมองไม่เห็นแต่บอทเห็น
-3
10
Cloaking
การปรับแต่งแก้ไขหน้าเพจเพื่อให้หน้าเพจที่ได้รับการแก้ไข ทำการหลอกให้แมงมุมเข้าไปยังอีกหน้าเพจหนึ่ง
-3
11
Doorway pages
การปรับแต่งแก้ไขหน้าเพจที่เป็นการเอาเปรียบเว็บไซต์อื่นในการทำอันดับ โดยการทำหน้าที่มีเนื้อหาแต่ตัวอักษรที่ผู้เข้าชมทั่วไปไม่สามารถเห็นได้ แต่โรบอทสามารถมองเห็น และทำการเก็บรายละเอียดของข้อมูลในหน้านั้นไป แต่ผู้เข้าชมจะถูกจัดส่งไปยังหน้าอื่นที่มีเนื้อหาจริงๆ อย่างรวดเร็ว (Refresh Page)
-3
12
Duplicate content
ทำเนื้อหาซ้ำกับเว็บอื่น โดยไม่มีการปรับแต่ง
-3

เทคนิคในการสร้าง Link Popularity ให้กับเว็บบล็อก


เทคนิคในการสร้าง Link Popularity ให้กับเว็บบล็อก

          การที่เราจะมี PageRank ดีๆ ติดอันดับในการค้นหา เป็นอันดับต้นๆ ได้นั้น ไม่ใช่เรื่องยากและก็ไม่ง่าย แต่ถ้ารู้วิธีการสร้าง Link Popularity แล้วละก็ ไม่ยากเลยครับ ซึ่งวิธีการสร้าง Link Popularity นี้เอง เป็นสิ่งที่นัก SEO ทั้งหลาย ต้องเรียนรู้และต้องสร้างให้ได้มากๆ จนถึงมากที่สุดเลยหล่ะครับ เอาละ เรามาดูวิธีการสร้าง Link Popularity กันเลยดีกว่า
1. ไป Comment ที่บล็อกคนอื่นวิธีแรกเลยที่ผมมักจะทำบ่อยๆ ก็คือคอมเม้นท์ในบล็อกของคนอื่น ใจเขาใจเราหล่ะครับ เวลาเราทำบล็อกแล้วมีคนมาคอมเม้นท์ (ที่ไม่ใช่สแปม) เราก็จะรู้สึกดี และอยากจะคุยกับคนที่มาคอมเม้นท์ เพราะคนที่คอมเม้นท์ถือว่าเป็นคนที่สนใจเว็บบล็อกของเราจริงๆ ดังนั้นเราเม้นท์เขา เขาเม้นท์เรา ก็ถือเป็นการแลกเปลี่ยนลิงค์กันได้ด้วยนะครับ
2. Link ไปหาบล็อกอื่นก่อน
อย่ารอให้เขาลิงค์มาหาเราก่อน เราต้องลิงค์ไปหาเขาก่อนจะดีที่สุด เพราะเขาจะเห็นว่าเขามีความสำคัญ หลังจากนั้น เมื่อเราลิงค์ไปหาเขาแล้ว ก็เมล์ไปบอกว่าเราติดลิงค์ให้เขาแล้ว ถ้าไม่รบกวนเกินไปก็กรุณาลิงค์กลับมาด้วยนะครับ อะไรประมาณนี้ ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรง หรือเว็บเราดีจริง รับรองว่าเขาต้องลิงค์กลับมาแน่นอนครับ
3. Submit บล็อกเข้าสู่ Search Engine ต่าง ๆ
ข้อนี้ต้องขยันนิดนึง เพราะคุณต้อง submit บล็อกของเราเข้าสู่ Search Engine ต่าง ๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ ข้อได้เปรียบของบล็อกก็คือ คุณสามารถโปรโมทบล็อกไปสู่ search engine ของเว็บได้ และยังโปรโมทไปสู่ search engine เฉพาะทางเช่นพวก Blog Search Engine ได้อีกด้วย
4. ออกแบบบล็อกให้ดูดีสวยงาม
อันนี้ลองดู เว็บ Template สวยๆ ทั้งหลาย เช่น Templatemonster อันนี้ก็เจ๋งดี ดูเป็นแนวทางนะครับ อย่าไปก็อปเขามาทั้งดุ้น เอามาปรับแต่ง ใส่ไอเดียเราเข้าไป เพื่อให้เกิดเป็นเว็บตามสไตล์ของเราจริงๆ
5. ใช้ CSS ในการออกแบบบล็อกออกแบบเว็บด้วย CSS และใช้ Validator HTML ให้ผ่านด้วย ช่วยให้เว็บของเรามีโค้ดที่ดูง่ายสะอาด ทำให้ บอทต่างๆ วิ่งเก็บข้อมูลได้สะดวก การเชื่อมโยงลิงค์ทำได้ง่าย ช่วยให้การทำ SEO ของเรา ได้อันดับดีไปด้วย

3 วิธีในการทำให้ Google Index เว็บของเราเร็วขึ้น


3 วิธีในการทำให้ Google Index เว็บของเราเร็วขึ้น


mariss amayer google wideweb
หลายๆ คนคงมีปัญหาในการทำเว็บ เพื่อให้ Google index เว็บเราเร็วๆ เพราะอะไรเหรอ ก็คงบอกได้ว่า การที่ google เก็บเว็บเราไปไว้ในฐานข้อมูลของเขาเร็ว ก็เท่ากับว่า เว็บเรามีโอกาสที่คนจะค้นหาเจอ ก็เร็วตามไปด้วย อะไรอื่นๆ ก็จะตามมา เช่น ทราฟิก รายได้ เป็นต้น เอาละ เรามาดูกันเลยละกันครับ ว่า 3 วิืธีที่ว่านี่คืออะไร
วิธีทำให้ Google Index เว็บเราแบบเร็วๆ 3 วิธี
  1. ให้เราเอาเว็บของเรา ไป submit ที่ http://www.digg.com รับรองว่า ถ้าเรื่องของเราได้รับการ index ที่นี่แล้วกูเกิ้ลจะมาเก็บข้อมูลได้ทันทีครับ
  2. ไป submit เว็บที่ http://www.mixx.com นี่ก็อีกที่ครับ
  3. สุดท้ายไป submit แบบ ping ได้ที่ http://www.autopinger.com

9 ข้อห้ามในการทำ SEO


9 ข้อห้ามในการทำ SEO


ข้อห้ามในการทำ SEO

  1. อย่าทำการโกงหรือหลอกลวง Search Engine เพื่อการทำอันดับทุกวิธี หากโดนแบนแล้วการยื่นอุธรณ์ไม่ได้แปลว่าจะพ้นโทษได้เสมอไป
  2. หลีกเลี่ยงการใช้ Meta Tag Refresh
  3. หลีกเลี่ยงการใช้โปรแกรม เข้าช่วยเหลือในทุกๆขั้นตอนในการดำเนินงาน เช่น โปรแกรมช่วย Generate หน้าเพจต่างๆ Search Engine จะจับได้ทั้งหมด
  4. การทำ Robots Invite บ่อยครั้งเกินไป จนรบกวนระบบ
  5. การใช้คำบ้านๆ ทั่วไปในการนำมาทำเป็น Text Link เช่น “คลิกที่นี่”
  6. การทำหน้าเว็บไซต์ให้มีจำนวนเกิน 100 ลิงค์ ส่งผลเสียอย่างรุนแรงต่อการทำงานของ Search Engine Robots
  7. การที่เว็บไซต์ของเราปล่อยให้มีลิงค์เสีย หรือ Broken Link ส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือมาก
  8. การทำลิงค์ไปยังเว็บไซต์อื่นๆ เพื่อหวังค่าคะแนน PageRank โดยที่ Web Hosting มีIP เดียวกันทั้ง 2 เว็บไซต์ จะไม่ส่งผลอะไรกับค่าคะแนน
  9. อย่าทำ Black SEO ทุกประเภท Gray SEO ก็อย่าน่าเกลียด
credit : wordpress seo

แนะนำ Website The Best of SEO

ข้อมูลสรุปนี้ไม่พร้อมใช้งาน โปรด คลิกที่นี่เพื่อดูโพสต์

รวมคำศัพท์เกี่ยวกับ SEO


รวมคำศัพท์เกี่ยวกับ SEO

{ Posted on ก.พ. 28 2009 by admin }
Tags : SEO Glossary
Categories : ศัพท์ SEO

SEO Glossary รวมคำศัพท์เกี่ยวกับ SEO

Algorithm:
          อัลกอริทึ่ม หรือ “ระบบประมวลผลและจัดอันดับการแสดงผลการค้นหา” มีชื่อเรียกเต็มๆอย่างเป็นทางการว่า Search Engine Algorithm system คือระบบที่จะทำการคิด และวิเคราะห์เพื่อแสดงผลการค้นหาให้ออกมาได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด เท่าที่ระบบจะทำการคำนวณออกมาให้ได้ หลังจากนั้นจึงจะนำมาประมวลผล และจัดเรียงลำดับตามความเหมาะสมอีกครั้ง โดยจะรับคำสั่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็น “โจทย์” มาจากคำค้นหา (Keyword) ที่มีการระบุมา และอัลกอริทึ่มจะหา “คำตอบ”ซึ่งก็คือผลการค้นหา มาให้นั่นเอง
          อัลกอริทึ่ม มีความสำคัญต่อธุรกิจของผู้ให้บริการเครื่องมือค้นหาอินเทอร์เน็ตทุกรายเป็นอย่างมากจึงจำเป็นที่ระบบทั้งหมด ต้องมีการเก็บไว้เป็นความลับ ในเรื่องของวิธีการคำนวณ เป็นเงื่อนไขต่างๆที่มีอยู่ โดยเราอาจจะมองเป็นอาหารจานเด็ดที่พ่อครัวไม่อาจเปิดเผยส่วนประกอบและวิธีปรุงได้ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นได้ล่วงรู้ถึงสูตรที่ว่านี้ได้

Backlinks:

          จำนวนของลิงค์เชื่อมโยงทั้งหมด ที่เว็บไซต์ของเราได้รับมาจากเว็บไซต์อื่น ๆ

Banned:

          การแบน หรือ การลงโทษเว็บไซต์ที่กระทำผิดกฎของ Search Engine โดยการทำอันดับแบบวิธีลัด ซึ่งผิดหลักการ และเป็นการเอาเปรียบเว็บไซต์อื่น ๆ ในการทำอันดับ โดยข้อมูลที่เกี่ยวข้องของเว็บไซต์ที่โดนแบนไปนั้น จะถูกลบทิ้งออกไปจากฐานข้อมูลทั้งหมด ซึ่งนี้ถือว่าเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายที่ทาง Search Engine ได้พิจารณาว่าเหมาะสมที่จะดำเนินการแล้ว

Browser:

โปรแกรมที่ใช้สำหรับการท่องอินเทอร์เน็ต

Body:

ดูที่ Content

Cloaking:

         การปรับแต่งแก้ไขหน้าเพจเพื่อให้หน้าเพจที่ได้รับการแก้ไข ทำการหลอกให้แมงมุมเข้าไปยังอีกหน้าเพจหนึ่ง ที่มีการจัดทำเนื้อหาแบบข้อความไว้จำนวนมาก เพื่อให้แมงมุมทำการเก็บรายละเอียดของหน้าเพจนั้น ลงไปสู่ฐานข้อมูล เพื่อให้เว็บไซต์ของตนได้รับการจัดอันดับที่ดีในการแสดงผลการค้นหา
ในทางตรงกันข้าม หากเป็นผู้เข้าชมทั่วไปธรรมดาๆ เมื่อเข้ามาถึงหน้าเพจที่ได้รับการแก้ไขก็จำทำการส่งไปยังอีกหน้าเพจหนึ่งที่มีเนื้อหาปกติ
กล่าวคือ วิธีการนี้คือการหลอกลวงเนื้อหาที่มีอยู่ต่อแมงมุม ส่งผลให้เว็บไซต์ได้รับการจัดอันดับในลักษณะที่เอาเปรียบต่อเว็บไซต์อื่น ๆ

Crawler:

           โปรแกรมเล็ก ๆโปรแกรมหนึ่ง ที่ถูกส่งมาจาก Search Engine โดยจะ “ไต่” ไปตามลิงค์ของเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อทำการเก็บข้อมูลของหน้าเพจ โดยการคัดลอกเนื้อหาทั้งหน้าเพจ และส่งกลับไปยังเครื่องแม่ข่ายของตัวเองเพื่อจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดไว้สำหรับประมวลผลการค้นหา

Cached:

ไฟล์ของหน้าเพจที่ถูก Search Engine ได้ทำการเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูล

Common words:

          เป็นคำค้นหาโดยทั่วไป ที่ไม่สามารถจำกัดขอบเขตของการค้นหาได้และเพื่อเป็นการป้องกันให้ประสิทธิภาพของเครื่องแม่ข่ายที่จัดเก็บข้อมูลนั้นลดลง จึงไม่สามารถค้นหาประเภทนี้ได้ เนื่องจากคำประเภทนี้เป็นคำกล่าวที่สามารถพบได้กับเอกสารโดยทั่วไปที่มีอยู่บนอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก

Content:

เนื้อหาหรือบทความต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ ที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษร (Text Format)

Directories:

ไดเร็คทอรี่ หรือที่เรียกว่า สารบัญเว็บไซต์ ที่รวบรวมเว็บไซต์จำนวนมากไว้อย่างเป็นหมวดหมู่มีหลักการทำงานคล้ายกับสมุดหน้าเหลือง

Doorway Page:

          การปรับแต่งแก้ไขหน้าเพจที่เป็นการเอาเปรียบเว็บไซต์อื่นในการทำอันดับ โดยการทำหน้าที่มีเนื้อหาแต่ตัวอักษรที่ผู้เข้าชมทั่วไปไม่สามารถเห็นได้ แต่โรบอทสามารถมองเห็น และทำการเก็บรายละเอียดของข้อมูลในหน้านั้นไป แต่ผู้เข้าชมจะถูกจัดส่งไปยังหน้าอื่นที่มีเนื้อหาจริงๆ อย่างรวดเร็ว (Refresh Page)

Drive Traffic:

การเพิ่มขึ้นของจำนวนอัตราการเข้าชมเว็บไซต์ ที่เห็นได้อย่างชัดเจน

Drop -Down Menu:

เมนูที่มีลักษณะแบบเลื่อนลง

Googlebots:

ชื่อของโรบอท ที่เป็นโปรแกรมสำหรับเก็บข้อมูลหน้าเพจต่างๆ ที่มีอยู่ในเว็บไซต์ของ Google Search Engine

Hi-Quality Link:

          ลิงค์ที่มีคุณภาพ คือ ลิงค์ของเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทำการลิงค์มายังเว็บไซต์ของเรา และมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง หรือใกล้เคียงกับเนื้อหาเดียวในเว็บไซต์ของเรา อาจจะอยู่ในรูปแบบ หน้าเพจของเว็บไซต์อื่นที่มีเนื้อหาตรงกัน ต่อหน้าเพจของเว็บไซต์เราที่มีเนื้อหาตรงกันก็ได้

Image Search Engine:

เครื่องมือค้นหารูปภาพบนอินเทอร์เน็ต เช่น Google Image Search (http://images.google.com)

Index:

ชื่อเรียกของการกระทำในขั้นตอนการจัดเก็บข้อมูลหน้าเพจ และรายละเอียดต่าง ๆ ของโรบอท

Index Server :

          เครื่องแม่ข่ายที่จะเก็บข้อมูลของหน้าเพจ และรายละเอียดต่างๆ ทั้งหมดที่ส่งมาจากโรบอทเพื่อรอสู่ขั้นตอนการประมวลผลการค้นหาและจัดอันดับการแสดงผลของอัลกอริทึ่มในขั้นตอนต่อไป

Inbound Link :

ดูที่ Back Links

Log File :

ไฟล์ระบุประวัติของเว็บไซต์เราอย่างละเอียด ซึ่งยังคงเป็นข้อมูลดิบ จำเป็นต้องใช้โปรแกรมช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลอีกครั้ง

Keyword :

          คีย์เวิร์ด หรือ คำค้นหา เป็นตัวแปรสำคัญในการค้นหาทุกครั้ง เปรียบเสมือนโจทย์ หรือ คำสั่งที่ Search Engine จะต้องทำการค้นหาคำตอบที่เป็นหน้าเพจออกมาได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากที่สุด
ในส่วนของการปรับแต่งคีย์เวิร์ด จะเป็นตัวระบุขอบเขตความยากง่ายในการปรับแต่งเว็บไซต์เพื่อทำอันดับในการแสดงผลการค้นหาออกมาให้ได้มากที่สุด

Landing page :

          หน้าเพจที่มีการจัดเตรียมข้อมูลสรุปที่สำคัญ เพื่อที่จะทำการปิดการขายและการนำเสนอไว้เพียงหน้าเดียว ผู้เข้าชมสามารถตัดสินใจที่จะซื้อ หรือใช้บริการ หรือเข้าถึงเนื้อหาในหน้าเพจอื่น ๆ ที่มีอยู่ทั้งหมดได้จากหน้านั้น เปรียบได้ดั่งหน้าเพจที่รองรับการลงจอดของอัตราการเข้าชมทั้งหมดที่มีเข้ามา

Link Popularity :

ดูที่ Backlinks

Link Text:

ดูที่ Text Link

Listings :

รายชื่อในที่นี้ หมายถึงรายชื่อที่จะมีอยู่ในผลการค้นหา จาก Search Engine หรือในหมวดหมู่ของไดเร็คทอรี่

Major Search Engine :

          กลุ่มของ Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของโลก 3 ราย คือ Google,Yahoo,MSN ซึ่งกลายเป็นมาตรฐานในด้านการปรับแต่งเว็บไซต์เพื่ออ้างอิงการติดอันดับการแสดงผล ใน 3 Seach Engine นี้ เนื่องจากได้รับความนิยมในหารใช้งานสูงที่สุดในโลก

Meta Search Engine :

          Search Engine อีกหนึ่งประเภทที่จะประมวลผลจากรายละเอียดที่มีอยู่ในคำสั่ง Meta Tag ของหน้าเพจเป็นหลักเท่านั้น ไม่มีระบบฐานข้อมูลของตนเอง แต่จะอาศัยข้อมูลจาก Search Engine Index Server จากที่อื่นหลายๆที่ นำเอามาประมวลผลร่วมกัน ทำให้เกิดผลการค้นหาที่หลากหลายแต่ในทางตรงกันข้าม ผลการค้นหาที่หลากหลายเท่านั้น มักได้ผลลัพธ์ออกมาไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร

Meta Tags :

          เมตะ แท็ก คือชุดคำสั่งที่ใช้สำหรับประกาศข้อมูลสำคัญต่างๆ ของเอกสารหน้าเพจนั้นๆ เช่น ชื่อผู้พัฒนา,เจ้าของเว็บไซต์,คำค้นหา (Keyword),คำอธิบายย่อของเว็บไซต์ โดยจะปรากฎในส่วนหัวของเอกสารเว็บ(Head Section) มีหน้าที่เพื่อแจ้งข้อมูลสำคัญ ๆ ให้กับ Search Engine Robots ได้รับทราบ

Meta Description Tag :

          ชุดแท็กคำสั่ง ที่ใช้สำหรับประกาศข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับรายละเอียดอย่างย่อ ที่มีอยู่หน้าเพจนั้นๆ
ตัวอย่างเช่น

Meta Kewords Tag :

          ชุดแท็กคำสั่งที่ใช้สำหรับประกาศข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง หรือสัมพันธ์กับเนื้อหาที่มีอยู่ในหน้าเพจนั้นๆ
ตัวอย่างเช่น

Meta Robots Tag :

          ชุดแท็กคำสั่งที่ใช้สำหรับประกาศข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตการทำงานของโรบอท เช่น การระบุให้เก็บข้อมูลของหน้าเพจนี้หรือไม่ หรือการระบุให้ตามลิงค์ไปยังหน้าเพจอื่นๆ จากหน้านี้หรือไม่
ตัวอย่างเช่น

One Way Link :

          ลิงค์เชื่อมโยงแบบทิศทางเดียวจากเว็บไซต์อื่นๆ โดยที่เว็บไซต์ของเราไม่ต้องทำลิงค์เชื่อมโยงกลับ วิธีการนี้จะเห็นได้มาก จากเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ หรือได้รับความนิยมอย่างสูง

Organic Listings :

          ผลการค้นหาที่เป็นผลออกมาจากการวิเคราะห์และจัดอันดับการแสดงผลโดยระบบอัลกอริทึ่มเพียงอย่างเดียว โดยจะแสดงผลการค้นหานี้ออกมาในฝั่งซ้ายมือ

Outbound Links :

ลิงค์ที่มีอยู่ในหน้าเพจของเว็บไซต์เรา ที่ทำการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นๆ

Overture :

           โอเวอร์เจอร์ (http://www.overture.com) เป็นผู้ให้บริการเครื่องมือค้นหาบนอินเทอร์เน็ตแบบเสียค่าใช้จ่ายคลิกเท่าไหร่ จ่ายเท่านั้น (Pay per Click: PPC) อันดับต้นๆของโลก เพื่อให้เว็บไซต์ของเราได้มีอยู่รายชื่อของผลการค้นหา ตามคีย์เวิร์ดที่เราระบุไว้ไม่ได้ ปัจจุบันได้ถูกบริษัท Yahoo Company ซื้อมาเป็นบริษัทลูกในเครือเรียบร้อยแล้ว

PageRank :

          เพจแรงค์ คือ “ค่าคะแนนความน่าเชื่อถือของหน้าเพจนั้น” หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Google PageRank เป็นค่าคะแนนที่ Google คิด และคำนวณให้ และยังใช้เป็นปัจจัยหลักในการประมวลเพื่อจัดลำดับการแสดงผลการค้นหา เปรียบได้กับเครื่องหมายคะแนนการรับประกันความน่าเชื่อถือของหน้าเพจนั้นๆ

Paid Listings :

          หากมีการใช้คำนี้ หมายถึงว่าจะต้องมีการจ่ายค่าบริการ เพื่อที่จะได้มีรายชื่ออยู่ในผลการค้นหาจาก Search Engine หรือในหมวดหมู่ของไดเร็คทอรี่นั้น

Position :

ดูที่ Rank.

Query : 

ดูที่ Serch Terms

Rank/Ranking :

          อันดับการแสดงผลการค้นหา ที่จะถูกจัดเรียงตามแต่ระบบอัลกอริทึ่มของ Search Engine แต่ละแห่งจะทำการคำนวณผลการค้นหาออกมาให้ได้ โดยแต่ละแห่งจะมีอันดับการแสดงผลออกมาไม่ซ้ำกัน เนื่องจาก Search Engine แต่ละแห่งต่างมีระบบ อัลกอริทึ่ม เป็นของตัวเองที่ไม่เหมือนใคร
          หากเว็บไซต์ของเรามีอันดับการแสดงผลที่สูง แน่นอนว่าย่อมได้รับอัตราการเข้าชมที่สูงกว่าเว็บไซต์ที่มีอันดับการแสดงผลต่ำกว่า เนื่องจากส่วนใหญ่แล้ว ผู้ใช้งาน Serch Engine แต่ละแห่งต่างมีระบบ อัลกอริทึ่ม เป็นของตัวเองที่ไม่เหมือนใคร
          หากเว็บไซต์ของเรามีอันดับการแสดงผลที่สูง แน่นอนว่าย่อมได้รับอัตราการเข้าชมที่สูงกว่าเว็บไซต์ที่มีอันดับการแสดงผลต่ำกว่า เนื่องจากส่วนใหญ่แล้ว ผู้ใช้งาน Search Engine จะคลิกผลการค้นหาในอันดับต้นๆ เสมอ

Reciprocal Link :

การแลกเปลี่ยนระหว่างเว็บไซต์ 2 แห่ง

Referrer :

การระบุ URL ที่มาของลิงค์เชื่อมโยงจากต้นทาง ไม่ว่าจะเป็น Search Engine,Email,Website

Related Link :

ลิงค์เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ หรือหน้าเพจอื่นๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้อง หรือสัมพันธ์กัน

Registration :

ดูที่ Submission

Results Page :

          ตัวเลขของผลการค้นหาของหน้าเพจทั้งหมดที่ตรวจพบในระบบฐานข้อมูล เป็นตัวเลขที่สามารถระบุความยากง่ายในการดำเนินงานในเบื้องต้นได้

Robot :

ดูที่ Crawler

Robots.txt :

          ไฟล์เอกสารของโปรแกรม Notepad ที่ภายในจะระบุคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานในการเข้ามาเก็บข้อมูลที่เว็บไซต์ของเรา ให้กับโรบอท ที่มาจาก Search
Engine ต่างๆ เพื่อที่จะบอกให้โรบอท มีสิทธิ์ในการเข้าไปทำการเก็บข้อมูลที่โฟล์เดอร์ หรือไฟล์เอกสารตัวไหนได้บ้าง

Search Box :

ช่องสำหรับใส่คีย์เวิร์ด เพื่อทำการระบุสิ่งที่ต้องการค้นหา

Search Engine :

เครื่องมือค้นหาบนอินเทอร์เน็ตโดยสามารถค้นหาเว็บไซต์ และไฟล์เอกสารรวมไปถึงข้อมูลอื่น ๆได้อย่างไม่จำกัด

Search Engine Index Server :

ดูที่ Index Server

Search Engine Marketing (SEM) :

          การทำการตลาดผ่านทางระบบเครื่องมือค้นหาบนอินเทอร์เน็ต เช่น การประชาสัมพันธ์เว็บไซต์และการโฆษณาสินค้าต่างๆ ผ่านสื่อออนไลน์อีกรูปแบบที่กำลังได้รับความนิยมมากที่สุด ทั้งในและต่างประเทศ

Search Engine Optimization (SEO) :

การปรับแต่งและแก้ไข รวมไปถึงการออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ เพื่อให้ทำอันดับในการแสดงผลการค้นหาออกมาให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยอาศัยคีย์เวิร์ด ที่ต้องการทำอันดับ เป็นตัวแปรหลักในการดำเนินการ

Search Engine Robots :

ดูที่ Crawler

Search Engine Spider :

ดูที่ Crawler

Search Engine Submission :

           การประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในรูปแบบการลงทะเบียน ตามเว็บไดเร็คทอรี่เพื่อให้เว็บไซต์ของเราได้มีรายชื่ออยู่ในหมวดหมู่ และ Search Engine ต่างๆ เพื่อให้โรบอทเข้ามาทำการเก็บข้อมูลที่เว็บไซต์ของเรา

Search Terms :

SEM :

ดูที่ Search Engine Marketing

SEO :

ดูที่ Search Engine Optimization

SERPS :

ย่อมาจาก Search Engine Results Pages ดูที่ Results Page.

Shopping Search :

          เครื่องมือค้นหาบนอินเทอร์เน็ตอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นการใช้งานเพื่อค้นหาเฉพาะการเลือกซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อการเปรียบเทียบราคา และคุณสมบัติของสินค้าเป็นหลัก
ตัวอย่าง Froogle:Smart shopping through Google(http://froogle.google.com/)

Spam :

          การกระทำในลักษณะซ้ำ ๆ กันจำนวนมาก ในที่นี้หมายถึงการปรับแต่งเว็บไซต์ในวิธีลัด ซึ่งเป็นการเอาเปรียบเว็บไซต์อื่น ๆ ในการทำอันดับการแสดงผลการค้นหา

Sitemap :

           แผนที่หน้าเพจทั้งหมดในเว็บไซต์ เป็นการยืนยันการมีตัวตนอยู่จริงของถูกหน้าเพจในเว็บไซต์ และอำนวยความสะดวกในการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์ด้วย เปรียบได้กับป้ายบอกทางในเว็บไซต์ของเรา เมื่อผู้เข้าชมหลงทางหรือต้องการดูเนื้อหาในหน้าเพจอื่น ๆ แบบก้าวกระโดด

Spider :

ดูที่ Crawler

Stop words :

ดูที่ Common words

Submission :

ดูที่ Search Engine Submission

Suggest URL :

          การแนะนำ URL ให้โรบอท เข้ามาทำการเก็บข้อมูลใหม่ที่เว็บไซต์ของเรา หรือให้เว็บไซต์ของเราได้มีรายชื่ออยู่ในหมวดหมู่ที่ถูกต้องของเว็บไดเรคทอรี่ โดยผ่านระบบการลงทะเบียนออนไลน์

Text link :

ลิงค์เชื่อมโยงเว็บไซต์อื่น ๆ หรือหน้าเพจอื่น ๆ ในรูปแบบตัวอักษร

Theme :

รูปแบบโดยรวมของเว็บไซต์ หัวข้อ, ประเด็นในการนำเสนอหลัก

Traffic :

อัตราเข้าชมที่เว็บไซต์ของเราที่ได้รับจากทุก ๆ ช่องทางบนอินเทอร์เน็ต

Web Directory :

ดูที่ Directory

XML Feeds :

          ย่อมาจาก Extensible Markup Language โดยเอกสารประเภทนี้ จะไม่จำเป็นที่จะต้องใช้มนุษย์ในการตีความเอกสาร XML ส่วนใหญ่ ไฟล์ XML จะเน้นการใช้งานด้านการแลกเปลี่ยนข่าวสารใหม่ ๆ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.thaixml.com
credits : Wordpress SEO

AddThis

Bookmark and Share

ผู้ติดตาม