วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555

Dofollow คืออะไร ต่างกับ Nofollow ยังไง?

Dofollow คืออะไร ต่างกับ Nofollow ยังไง?

Dofollow vs Nofollow

หลังๆ ไม่ค่อยมีเวลาว่างมาอัพเดทเว็บ SEO เลย เว็บเงียบๆ ไป วันก่อนไปเจอเกี่ยวกับ Dofollow กับ Nofollow ซึ่งเป็นที่กังขาของเหล่าเว็บมาสเตอร์ในยุคนี้กันมาก เลยค้นหาข้อมูลมาฝากครับ
วิธีการใช้งาน Dofollow และ Nofollow
  • ถ้าต้องการให้ Nofollow ทั้งเว็บ ให้ใส่โค้ด <META NAME=“ROBOTS” CONTENT=“NOFOLLOW”> ไว้ในส่วนบน ก่อนคำสั่ง นะครับ
  • ถ้าต้องการให้ Nofollow บางลิงค์ ก็ให้ใส่โค้ด rel=”nofollow>
  • ส่วนถ้าต้องการให้เป็น Dofollow ก็ไม่ต้องปรับแต่งใส่โค้ดอะไรเลย เพราะปกติมันก็เป็น Dofollow อยู่แล้ว
เอาล่ะมาอ่านความหมายของคำว่า Dofollow กับ Nofollow กันเลยว่า มันดีไม่ดียังไง ควรปรับหรือไม่ควร

———————————————————————–
nofollow-dofollow
วันนี้ผมไปอ่านเจอBlogนึ่งมีประโยชน์มากเลยครับ ทำให้รู้ความหมายของ DoFollow & NoFollow คืออะไร เอาไว้ทำอะไรลองอ่านกันดูนะครับ
คำนี้เคยได้ยินกันไหมครับ DoFollow กับ Nofollow ถ้าเป็น Webmaster สมัยนี้ หรือ ผู้ที่ำทำ Blog น่าจะพอเข้าใจและได้ยินมาบ้าง วันนี้ผมจะมาอธิบายให้ฟังครับว่า มันคืออะไร?
DoFollow และ NoFollow เป็น Attribute ในการทำลิงค์  (AnchorTag) ซึ่งทั้ง 2 แบบนั้น ให้ผลที่แตกต่างกันค่อยข้างมาก ผมจะยกตัวอย่าง html ที่ใช้ attribute Nofollow ครับ เพราะโดย Default ของ Anchor Tag จะเป็น DoFollow อยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าเราจะใส่ NoFollow ก็ตามนี้เลยครับ
rel=”nofollow>




คำถามต่อมาคือ จะใส่ทำไม?
ท่าที่ผมได้หาที่มาที่ไป ก็พบว่า เกิดมาจาก Blog ครับ อันเนื่องมาจาก Blog มีความเป็น Web 2.0 (ผู้ใช้สามารถแสดงความคิดเห็นและใส่ลิงค์ได้) ทำให้มี Spammer, Spammy ชอบมา Comment แล้วใส่ลิงค์กลับไปหาเว็บตนเองแบบน่าเกลียด
ผู้พัฒนา Blog จึงมองว่า Blog ได้รับผลเสียเพราะมีลิงค์ออกจำนวนมาก ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ใส่เอง จึงได้เพิ่มส่วนของ Attribute “NoFollow” เข้ามาเพื่อ “ไม่ให้คะแนน PR” ไปสู่ เว็บดังกล่าวได้
จึงคิดได้ง่าย ๆ ครับว่า การทำ NoFollow เพื่่อป้องกันคะแนน PR ในหน้านั้น ๆ ลดลงโดยไม่จำเป็น (เพราะมี Spammer มาป่วน) แต่เดี๋ยวก่อนครับ… การทำ NoFollow ไม่ได้ทำมาเพื่อป้องกันคะแนน PR เราลดไปให้หน้าเว็บอื่นนะครับ แต่ในทาง SEO เว็บนั้น ๆ จะได้รับ Backlink จาก Blog เราแต่ไม่ให้คะแนน PR ไปด้วย
เราสามารถทำมาทำกับ Internal Page ของเว็บเราเองได้เช่นกัน ก็เพื่อป้องกันคะแนนหน้านั้น ไหลไปสู่หน้าอื่น ผมยกตัวอย่างครับ
หน้าแรกเว็บเรามีลิงค์มากมาย เป็นลิงค์ไปยังหมวดหมู่ เนื้อหาทั่วไป แบบนี้ เราไม่จำเป็นต้องทำ NoFollow เพราะเราให้หน้าเนื้อหา หน้าหมวดหมู่ของเรามีคะแนน PR เพิ่มขึ้นในอนาคต
แต่… หน้าที่เกี่ยวกับ Policy, Contact Us หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เรามองว่า เราไม่ต้องการให้มีคะแนน PR เราก็สามารถใส่ NoFollow กับลิงค์นั้นได้ครับ

แล้วได้ประโยชน์อะไรล่ะ?
แน่นอนครับ ต้องได้สิ หน้า Policy, Contact Us มักจะมีทุกหน้าขอเว็บ (เท่าที่สังเกตุ ทุก Footer จะมี) ดังนั้น ในหน้าแรก ถ้าเรา DoFollow ลิงค์พวกนี้ จากปกติมีลิงค์ 50 ก็จะกลายเป็น 52 ทันที ทำให้คะแนนหน้าแรกของเราโดนแบ่งให้กับ Policy และ Contact Us โดยไม่มีความจำเป็น!!
อันนี้เป็นการนำไปใช้นะครับ เพื่อให้หน้าที่เราต้องการมีคะแนนที่สูงขึ้น แต่…การใช้ NoFollow ไม่ควรใช้กับ Link Exchange ครับ เพราะถือเป็นการไม่ให้เกียรติกับผู้ที่แลกลิงค์กับเรา ยกเว้น… เราแจ้งเค้าก่อนแล้วว่า เราจะให้แบบนี้ ถ้าเค้าโอเค ก็ไม่มีปัญหาครับ

สรุป
DoFollow จะ่ให้ผลทาง Backlink และ คะแนน PR
NoFollow จะให้ผลทาง Backlink แต่ ไม่ให้คะแนน PR
ควรเลือกวิธีการให้ถูกต้องตามความเหมาะสมครับ
http://www.rapeeseoaff.com แหล่งข้อมูล เข้าไปอ่านบทความอื่นๆได้

ขออนุญาตนำมาบอกต่อจากเว็บ http://4compass.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

AddThis

Bookmark and Share

ผู้ติดตาม